ทำไม บราวนี ถึงต้องกินตอนเย็นๆ

 


หลายต่อหลายครั้งที่ญาติๆ หรือคนใกล้ตัว มักจะหาซื้อ บราวนี่ มาเป็นของฝากแต่ก็แอบสงสัยว่า ทำไมการนำไปแช่เย็นก่อนกินถึงจะกินได้อร่อยกว่า การกินแบบปกติ วันนี้ เราจะมาหาคำตอบกัน

“บราวนี” ขนมหวานทรงสี่เหลี่ยม สีน้ำตาล กลิ่นหอมช็อกโกแลต มักโรยด้วยถั่วต่าง ๆ ทุกร้านขนมหรือร้านกาแฟจะต้องมี “บราวนี” เรียกได้ว่าเป็นขนมพื้นฐานที่ต้องมีเตรียมไว้สำหรับสายขนมหวาน แต่ไปกี่ร้าน ๆ ก็จะมีชื่อเรียก “บราวนี” ไม่เหมือนกัน วันนี้วาวาจะมาเล่าถึงแก่นแท้และรายละเอียดของ “บราวนี” ให้เพื่อน ๆ หายสงสัย ถ้าพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันเลยว่าชนิดของบราวนีแต่ละแบบเนี่ยมันต่างกันอย่างไร

จุดเริ่มต้นของบราวนีอาจต้องย้อนเวลาไปกว่า 2,200 ปี ที่ชนเผ่ามายันนำผลของต้นโกโก้มากินซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ 'ช็อกโกแลต' อันเป็นส่วนผสมสำคัญของบราวนี ช็อกโกแลตเดินทางผ่านกาลเวลามาจนถึงก่อนช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ช็อกโกแลตเป็นเครื่องดื่มของครอบครัวชนชั้นสูงที่ร่ำรวยในสหรัฐอเมริกา จนถึงปี ค.ศ.1825 ผงโกโก้จึงเริ่มมีขายในร้านทั่วไป จากนั้นจึงเริ่มมีการผลิตช็อกโกแลตแบบแท่งในปี ค.ศ.1842 และในช่วงปลายของศตวรรษที่ 18 พ่อครัวชาวอเมริกันจึงเริ่มทำเค้กช็อกโกแลตกันอย่างจริงจังและกลายเป็นที่นิยมตามบ้านทั่วๆ ไป

ประวัติบราวนีนั้นมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ในช่วงยุคปลายศตวรรษที่ 19 โดยไม่แน่ชัดในเรื่องผู้ค้นคิดคนแรก แต่ก็มีเรื่องเล่าว่า ในปี คศ.1893 มีหญิงสาวสังคมผู้มั่งคั่ง นามว่า เบอร์ธา พ็อตเตอร์ พาล์มเมอร์ (Mrs. Bertha Potter Palmer) ต้องการ ขนมหวานที่มีขนาดเล็ก สามารถใส่ในกล่องอาหารกลางวัน และกินง่าย เพื่อนำไปกินในงาน Chicago World’s Columbian Exposition กับเพื่อน ๆ ของเธอ จึงสั่งให้พ่อครัวของโรงแรมเดอะ พาล์มเมอร์ เฮ้าส์ (The Palmer House Hotel) เป็นผู้จัดการ โดยพ่อครัวได้ทำเป็น ขนมอบรสช็อกโกแลตเนื้อแน่น โรยด้วยถั่ววอลนัทและเกล็ดน้ำตาลจากน้ำเชื่อมของแอพริคอต จนกลายเป็นเมนูขึ้นชื่อของโรงแรมเดอะ พาล์มเมอร์ เฮ้าส์ ถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีตำนานต่าง ๆ เช่น พ่อครัวทำเค้กช็อกโกแลตแล้วใส่ส่วนผสมผิด ใส่แป้งน้อยเกินไป เมื่ออบออกมาจึงได้เนื้อเค้กช็อกโกแลต ที่เข้มข้นมีความหนึบ หรือ แม่ครัวในเมืองบังกอ (Bangor)ในรัฐเมน (Maine) นามว่ามิลเดร็ด บราวน์ ชรัมป์ (Mildred Brown Schrumpf) ซึ่งมีชื่อเล่นว่า บราวนี ได้ทำเค้กช็อกโกแลตและลืมใส่ส่วนประกอบสำคัญคือผงฟู ทำให้เค้กไม่ขึ้นฟู ด้วยความเสียดายจึงตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแล้วแจกจ่ายให้คนในครอบครัวรับประทาน

จุดกำเนิดของบราวนีที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด คือเรื่องเล่าของแม่ครัวชื่อ มิลเดร็ด บราวน์ ชรัมป์ (Mildred Brown Schrumpf) ซึ่งมีชื่อเล่นว่า 'บราวนี' จากบังกอ (Bangor) ในรัฐเมน (Maine) ได้ทำเค้กช็อกโกแลตและลืมใส่ส่วนประกอบสำคัญคือผงฟู ทำให้เค้กไม่ขึ้นฟู แต่ด้วยความเป็นคนประหยัดมัธยัสถ์ไม่อยากเสียเค้กแฟบๆ ชิ้นนั้นไปเปล่าๆ จึงตัดออกเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจตุรัสแล้วนำไปให้ครอบครัวกิน กลายเป็นตำนาน 'Bangor Brownies'

แล้วควรเก็บอย่างไร ?

หลาย ๆ คนอาจเข้าใจว่า สามารถเก็บนอกตู้เย็นได้ แต่เนื่องด้วยอากาศเมืองไทยค่อนข้างร้อน วาวาจึงขอแนะนำว่าควรนำใส่กล่องแล้วแช่ตู้เย็น ซึ่งสามาระเก็บได้นานเป็นอาทิตย์ เเต่ยิ่งอยู่นานเนื้อจะยิ่งแห้งไม่อร่อย ดังนั้นระยะเวลาที่เหมาะสมนำออกมากินแล้วยังอร่อย ควรเก็บในระยะเวลา 4-5 วัน ถ้าเป็นเนื้อ “Chewy brownie” และ “Fudge brownie” เมื่อนำมากินแนะนำให้อบร้อนสักหน่อยจะทำให้ดาร์กช็อกโกแลตละลาย รับรองฟินในความชุ่มฉ่ำของช็อกโกแลตเหมือนเพิ่งอบใหม่เลยค่ะ

ที่มา https://www.wongnai.com/food-tips/content-of-brownie

ความคิดเห็น